วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

[ขั้นตอนการขอประกันตัวผู้ต้องหา] 1. เตรียมหลักประกันให้พร้อม ศึกษาว่าจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้บ้าง 2. หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้ เช่น ทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงาน 3. หากไม่ได้รับอนุญาตให้ประกัน ให้ขอพบอัยการจังหวัดหรืออัยการพิเศษฝ่าย 4. เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันจะต้องลงชื่อในสัญญาประกัน และทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับหลักประกัน และวันเวลานัดให้ท่าน 5. เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อน โปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลง เมื่อศาลรับฟ้อง 6. หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาลให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกัน หรือหัวหน้าธุรการทราบ เพื่อมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่ี่สำนักงานอัยการ แต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะหลักประกัน ไม่เกี่ยวกับตัวผู้ประกัน หลักฐานในการขอประกันตัวทุกกรณี1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของเจ้าของหลักทรัพย์ 2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้ต้องหาหรือจำเลย 3. ทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์ 4. ทะเบียนบ้านของผู้ต้องหาหรือจำเลย หลักฐานการประกันต้องนำไปแสดงเพิ่มเติม เฉพาะกรณี กรณีมีคู่สมรส - กรณีเจ้าของหลักทรัพย์มีคู่สมรส 1. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส (ขอรับแบบฟอร์มได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสำเนาใบอนุญาตขับรถของคู่สมรส - กรณีเจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมรสแล้ว 1. สำเนาใบสำคัญการหย่า - กรณีคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่กรรมแล้ว 1. สำเนามรณบัตร หรือ 2. ทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนาอีก 1 ชุด กรณี ชื่อในบัตรและในหลักทรัพย์ไม่ตรงกัน กรณี ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์ 1. หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่เจ้าของหลักทรัพย์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน กรณี ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์ เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล 1. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล กรณี ชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์ เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะทำการสมรสแล้ว 1. สำเนาใบสำคัญการสมรส กรณี มอบอำนาจ กรณี เจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการประกันแทน 1. ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนาอีก 1 ชุด 2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา 3. หนังสือมอบอำนาจ โดยผู้มอบและผู้รับมอบต้องมาทำที่สำนักงานอัยการด้วยตัวเอง ลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ 4. หรือหนังสือมอบอำนาจโดยผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบไปทำที่อำเภอ ลงชื่อต่อหน้าและให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทน หรือ พนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรอง และประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ(สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง) หลักทรัพย์ในการขอประกันตัว 1. โฉนดที่ดิน, นส.3ก. หรือ นส.3 2. เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน 3. สมุดเงินฝากประจำ 4. ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย 5. เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย 6. หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย ใช้หลักทรัพย์ประกัน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้กรณีใช้ โฉนดี่ดิน , นส.3ก หรือ นส.31. หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน กรณีใช้สมุดเงินฝากธนาคารประเภทประจำ1. หนังสือรับรองยอดเงินฝากคงเหลือ กรณีใช้เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน, ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย, ตั๋วแลกเงินธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว, เช็คธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย หรือรับรอง และไม่ใช่เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย1. ไม่ต้องมีเอกสารประกอบ ใช้บุคคลเป็นประกันต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้1. หนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับอัตราเงินเดือน การใช้หลักประกันเดิม1. มีการวางเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน2. พนักงานอัยการเห็นสมควร ถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานอัยการ หน่วยงานของรัฐขอปล่อยชั่วคราว 1. เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ 2. ตกเป็นผู้ต้องหาเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ 3. หน่วยงานของรัฐหรือผู้รับมอบอำนาจขอใช้บุคคลแทนการนำเงินสดหรือ หลักทรัพย์มาวางประกัน การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน ตำแหน่ง หลักประกัน ข้าราชการพลเรือนระดับ 3-5 วงเงินไม่เกิน 60,000 บาท ข้าราชการพลเรือนระดับ 6-8 วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท ข้าราชการพลเรือนระดับ 9-10 วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 วงเงินไม่เกิน 600,000 บาท สมาชิกรัฐสภาและข้าราชการการเมือง วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นหลักประกันได้ตามระดับของข้าราชการพลเรือนที่เทียบเท่ากัน บุคคลอื่นๆ - เป็นหลักประกันได้ในกรณีอัยการจังหวัดเห็นสมควรเป็นกรณีๆ ไป- การใช้ตนเองเป็นหลักประกันต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และหนังสือยินยอมของคู่สมรสหากมีภาระผูกพันในการใช้ตนเองเป็นหลักประกัน รายอื่นอยู่ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย วงเงินประกันตัวจำเลยคดีอาญาของศาลแขวงโดยประมาณ หลักเกณฑ์การตีราคาประกันของศาลแขวง ฐานความผิด ราคาประกัน หมายเหตุ หลักทรัพย์(บาท) เงินสด/ญาติ 1.ความผิดต่อเจ้าพนักงาน 1.1 ดูหมิ่น ม.136 1.2 แจ้งข้อความเท็จ ม.137 1.3 ต่อสู้หรือขัดขวาง ม. 138 ใช้ - กำลังหรือข่มขู่ 1.4 แสดงหลักฐานเท็จ 1.5 ทำให้เสียหายซึ่งตราหรือเครื่องหมาย ม. 141 1.6 ทำให้ทรัพย์, เอกสารเสียหาย ม.142 1.7 แสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ม.145 1.8 สวมเครื่องแบบ,ยศ,เครื่องหมาย ม.146 10,000 10,000 10,000 10,000 10,000 10,000 10,000 10,000 10,000 6,000 6,000 6,000 6,000 6,000 6,000 6,000 6,000 6,000 2.ความผิดต่อเจ้าพนักงานฯ 2.1 ขัดหมายศาล ม. 170 2.2 ขัดขืนคำสั่งศาล ให้สาบาน ,เบิกความ ม.171 5,000 5,000 3,000 3,000 3. ความผิดเกี่ยวกับศาสนา 3.1 ก่อให้เกิดการวุ่นวายฯ ม.207 3.2 แต่งกายเลียนแบบพระ ม. 208 10,000 10,000 6,000 6,000 4. ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร 4.1 ปลอมและใช้เอกสารปลอม ม.264 4.2 ปลอมและใช้เอกสาร(หนังสือเดินทาง) 4.3 แจ้งจดข้อความอันเป็นเท็จ ม. 267 4.4 ผู้ประกอบวิชาชีพ ทำคำรับรองอันเป็นเท็จ ม. 269 30,000 40,000 30,000 20,000 18,000 24,000 18,000 12,000 5. ความผิดเกี่ยวกับเพศ 5.1 มีเอกสาร,วัตถุ,สิ่งของลามก ม. 287 30,000 18,000 6. ความผิดต่อชีวิต 6.1 ชุลมุนทีคนตาย ม. 294 30,000 18,000 ฐานความผิด ราคาประกัน หมายเหตุ หลักทรัพย์ (บาท) เงินสด/ญาติ 7.ความผิดต่อร่างกาย 7.1 ทำร้ายผู้อื่น ม. 295 -ใช้อาวุธหรือร่วมกันทำร้าย ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป 7.2 หน่วงเหนี่ยวกักขัง ( ม.310 วรรคแรก) 7.3 ชุลมุนต่อสู้ฯ และมีผู้รับอันตรายสาหัส ม. 299 7.4 ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ม.300 7.5 ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่อันตรายแก่กายหรือจิตใจ (ลหุโทษ) 7.6 ประมาทฯผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (ลหุโทษ) 20,000 30,000 30,000 20,000 30,000 ไม่มีประกัน ไม่มีประกัน 12,000 18,000 18,000 12,000 18,000 ไม่มีประกัน ไม่มีประกัน 8.ความผิดฐานหมิ่นประมาท -หมิ่นประมาท ม. 326 -หมิ่นประมาทผู้ตาย ม. 327 10,000 10,000 6,000 6,000 9.ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 9.1 ลักทรัพย์ -ทรัพย์ราคาไม่เกิน 5,000 บาท -ทรัพย์ราคาไม่เกิน 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท -ทรัพย์ราคาเกิน 50,000 บาท 9.2 ฉ้อโกง ม.34, ม.344, ม.346 -ทรัพย์ราคาไม่เกิน 500,000 บาท -ทรัพย์ราคาส่วนที่เกิน 500,000 บาท 20,000 40,000 ปรึกษา 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์ แต่ไม่ต่ำกว่า 10,000บาท 1 ใน 5 ของราคาทรัพย์ แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท 12,000 24,000 ปรึกษา ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ฐานความผิด ราคาประกัน หมายเหตุ หลักทรัพย์ (บาท) เงินสด / ญาติ 9.3โกงเจ้าหนี้ ม. 349-ม. 350 -ทรัพย์ราคาไม่เกิน 500,000 บาท -ทรัพย์ราคาส่วนที่เกิน 500,000 บาท 9.4 ยักยอก ม.352-ม.353, ม.355 -ทรัพย์ราคาไม่เกิน 500,000 บาท -ทรัพย์ราคาส่วนที่เกิน 500,000 บาท 9.5 ทำให้เสียทรัพย์ ม. 358 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์แต่ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท (เว้นแต่ พรบ. เช็ค) 1 ใน 5 ของราคาทรัพย์แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์แต่ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท (เว้นแต่ พรบ. เช็ค) 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท 1 ใน 3 ของราคาทรัพย์แต่ไม่เกิน 300,000 บาท และไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ลดจากราตาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท (เว้นแต่ พรบ.เช็ค) ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่ต่ำว่า 6,000 บาท (เว้นแต่ พรบ.เช็ค) ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ลดจากราคาประกันด้วยหลักทรัพย์ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 180,000 บาท และไม่ต่ำว่า 3,000 บาท พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.๒๕๑๙(๑) ภูมิพลอดุลยเดช ปร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นปีที่ ๓๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย(๒) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาที่ปรึกษา ของนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ดังต่อไปนี มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป(๓) มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ (๑) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕(๒) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่๓๗ก ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๓ และ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ตอนที่ ๙๖ ก ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕(๓) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๔๔ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ (๔)“ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย (๕) “กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายว่าด้วยมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด(๖) (๗)“ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหมายความรวมถึงประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดด้วย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการใดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือเจ้าพนักงานและของส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจเกี่ยวกับยาเสพติดให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยและวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการและการประสานงาน (๘)มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า “ป.ป.ส.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมศุลกากรเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินหกคน และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลจากภาคเอกชนที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่เกินสองคน (๔) - (๕) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (หมายเหตุ : พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๗๐ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๔(๖) หมายถึง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. ๒๕๓๓ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ร.บ.มาตรการใน การปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓(๗) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓(๘) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน มาตรา ๖ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๗ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งซ่อมหรือแต่งตั้งเพิ่มอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการอื่น มาตรา ๘ ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มาตรา ๙ การประชุมทุกครั้งต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด (๙)มาตรา ๑๐ คณะกรรมการจะตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือทำการใดๆ แทนคณะกรรมการก็ได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (๑๐)มาตรา ๑๑ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน ป.ป.ส.” เป็นหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม (๑๑)มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินงานในฐานะหน่วยงานปฏิบัติของคณะกรรมการตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนด (๒) ประสานนโยบาย แผน งบประมาณและการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน(๓) สนับสนุนข้อมูล ข่าวสาร วิชาการ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศ (๔) ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ต่อต้านยาเสพติด (๕) ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (๖) ประสาน ตรวจสอบ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๗) ปฏิบัติราชการอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมายหรือตามที่กฎหมายกำหนด (๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๐) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๑) แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๓ และ พ.ร.ฎ.โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ.๒๕๔๕มาตรา๑๑๒ (๑๒)มาตรา ๑๒ ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(๑๓) และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน และให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด (๒) ควบคุมการสืบสวน สอบสวน และการฟ้องคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด (๓) วางโครงการและดำเนินการ ตลอดจนสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด (๔) ควบคุม เร่งรัดและประสานงานการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด (๕) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการหรืองานแผนงาน หรือโครงการของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด (๖) ประสานงานและกำกับการเกี่ยวกับการบำบัดรักษาตัวผู้ติดยาเสพติด (๗) พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๔)(๘) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการและกำหนดให้สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว (๑๕)(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (๑๖) (๑๐) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้ความดีความชอบหรือโยกย้ายหรือลงโทษทางวินัยต่อข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตลอดจนขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเร่งรัดการดำเนินการ ที่เกี่ยวข้อง (๑๗) (๑๑) พิจารณาและดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งกำกับและติดตามการใช้งบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว (๑๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๓) เนื่องจาก พ.ร.ฎ. โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ (๑) ได้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักนายกรัฐมนตรี ในส่วนของสำนักงาน ป.ป.ส. มาเป็นของ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ดังนั้นสำนักงาน ป.ป.ส. จึงขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม(๑๔) ? (๑๕) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓ (หมายเหตุ : พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๓๗ ก ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๓)(๑๖) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗(๑๗) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗ (๑๘) (๑๒) สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน รวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (๑๙)มาตรา ๑๓ ทวิ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการและประกาศกำหนดให้สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใดๆ เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(๒๐)มาตรา ๑๓ ตรี ในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการตามมาตรา ๑๓ ทวิ หากเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการ ดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์ให้คณะกรรมการเชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งปิดสถานประกอบการแห่งนั้นชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการสำหรับการประกอบธุรกิจนั้นแล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินครั้งละสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการนั้นทราบคำสั่ง ในกรณีที่สถานประกอบการซึ่งถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการตามวรรคหนึ่งเป็นสถานประกอบการซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมการประกอบธุรกิจตามกฎหมายอื่น ให้เลขาธิการแจ้งให้หน่วยงานซึ่งควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นทราบ และให้หน่วยงานดังกล่าวถือปฏิบัติตามนั้น การสั่งปิดชั่วคราวหรือการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ และการแจ้งให้เจ้าของ หรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการทราบตามวรรคหนึ่ง และการแจ้งให้หน่วยงานทราบตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๒๑)มาตรา ๑๔ เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการและเจ้าพนักงานมีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่เพื่อตรวจค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามีบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้น จะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม (๒) ค้นบุคคล หรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (๓) จับกุมบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (๔) ยึดหรืออายัดยาเสพติดที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (๕) ค้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (๖) สอบสวนผู้ต้องหาในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด(๒๒) (๑๘) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗ (๑๙) - (๒๐) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔ (๒๑) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๒๒) อำนาจสอบสวนตามมาตรา ๑๔(๖) กฎหมายจำกัดเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนผู้ต้องหาเท่านั้น จะตีความให้มีความหมายว่าเป็นอำนาจ สอบสวนโดยทั่วไปมิได้ ( ตามหนังสือตอบข้อหารือของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ สร ๐๖๐๑/๑๔๐๘ ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๕) (๗) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใดๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง(๑)ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดและแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้นรายงานเหตุผลและการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป และบันทึกเหตุอันควรสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือสถานที่ค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก เจ้าพนักงานผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการทหารตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป เจ้าพนักงานตำแหน่งใดหรือระดับใดจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายนั้น(๒๓) เจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเอกสารมอบหมายนั้นต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง ในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการและเจ้าพนักงาน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้เลขาธิการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยให้รายงานข้อเท็จจริง ปัญหาอุปสรรค ปริมาณการปฏิบัติงาน และผลสำเร็จของการปฏิบัติงานโดยละเอียด เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอรายงานดังกล่าวพร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (๒๔)มาตรา ๑๔ ทวิ ในกรณีที่จำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะ ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๒๕)มาตรา ๑๔ ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๔ ทวิ ถ้าเจ้าพนักงานได้ขอให้บุคคลใดช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ ให้บุคคลนั้นมีอำนาจช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานได ้ (๒๖)มาตรา ๑๔ จัตวา ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใด ซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงานซึ่งได้รับอนุมัติจากเลขาธิการเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้ (๒๓) คือ บัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.(๒๔) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๕ (๒๕) - (๒๖) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว (๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยกำหนดเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าว จะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อเจ้าพนักงานได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการให้อธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเท่านั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๑๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามมาตรา ๑๔ ให้ถือว่ากรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๔(๓) มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร และให้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับตามมาตรา ๑๔(๓) ไว้เพื่อทำการสอบสวนได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว หรือก่อนนั้น ตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการต่อไปทั้งนี้โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (๒๗)มาตรา ๑๕ ทวิ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศตามมาตรา ๑๓ ทวิ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท (๒๘)มาตรา ๑๖ ผู้ใดไม่ให้ความสะดวก หรือไม่ให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใดแก่กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๑๔ หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ หรือทดสอบตามมาตรา ๑๔ ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท(๒๙)(๓๐)ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๔ ตรี ผู้กระทำต้องระวางโทษเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง (๓๑)มาตรา ๑๖/๑ ผู้ใดรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามมาตรา ๑๔ จัตวา กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้อื่นรู้หรืออาจรู้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติหน้าที่หรือตามกฎหมาย (๒๗) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๖(๒๘) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๒๙) ดูเปรียบเทียบมาตรา ๙๐ แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒(๓๐) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ (๓๑) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๑ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือเจ้าพนักงาน ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานผู้ใดกระทำความผิดใดๆ ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเสียเอง ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น(๓๒) ( ๓๓)มาตรา ๑๗ ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ มาตรา ๑๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (๓๔)รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้อำนาจออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ยาเสพติดเป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อการดำเนินการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะป้องกันและปราบปรามการค้าและการเสพยาเสพติดอย่าง เข้มงวดกวดขัน ในการนี้จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการและให้อำนาจในการดำเนินการป้องกันและปราบ ปรามให้ได้ผลโดยเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น (๓๒) ดูเปรียบเทียบมาตรา ๑๐๐ แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔(๓๓) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๘(๓๔) แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดย พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๓ และ พ.ร.ฎ. แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗๔ หากผู้ใดสนใจโปรดติดต่อขอรายละเอียดได้ที่กองนิติการเลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400โทรศัพท์ (662) 245-9087 โทรสาร (662) 245-9413 พระราชบัญญัติ มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ( ๑)พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔”มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป(๒) มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง(๓) “กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๓๗ ก ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๓(๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๑๗๐ ลงวันที่ ๑๗๐ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๔(๓) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ “ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย“ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด” หมายความว่า เงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาเนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยการใช้เงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว ซื้อหรือกระทำไม่ว่าด้วยประการใดๆ ให้เงินหรือทรัพย์สินนั้นเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพกี่ครั้ง และไม่ว่าเงินหรือทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น โอนไปเป็นของบุคคลอื่นหรือปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลอื่นก็ตาม “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการตรวจสอบทรัพย์สินและให้หมายความรวมถึงประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินด้วย “กองทุน” หมายความว่า กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (๔)รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้จะกระทำนอกราชอาณาจักร ผู้นั้นจะต้องรับโทษใน ราชอาณาจักร ถ้าปรากฏว่า (๑) ผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นคนไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และได้กระทำโดยประสงค์ให้ความผิดเกิดขึ้นใน ราชอาณาจักรหรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย หรือ (๓) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าวและการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐที่การกระทำเกิดขึ้นในเขตอำนาจของรัฐนั้น หากผู้นั้นได้ปรากฏตัวอยู่ในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้นออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม (๔) เปลี่ยนแปลงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยมาตรา ๑๑๓ (๒) แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ และพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘๗ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอน ๑๐๒ ก วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๒๕ มาตรา ๖ ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น (๑) สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด (๒) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่หรือวัตถุใดๆ เพื่อประโยชน์ หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ (๓) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ที่ประชุม ที่พำนัก หรือที่ซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด หรือเพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากการถูกจับกุม (๔) รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้กระทำความผิดเพื่อประโยชน์หรือให้ความสะดวกแก่การกระทำความผิด หรือเพื่อมิให้ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ (๕) ปกปิด ซ่อนเร้นหรือเอาไปเสียซึ่งยาเสพติดหรือวัตถุใดๆ ที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำความผิด (๖) ชี้แนะ หรือติดต่อบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด ผู้ใดจัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ที่พำนักหรือที่ซ่อนเร้นเพื่อช่วยบิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยาของตนให้พ้นจากการถูกจับกุม ศาลจะไม่ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้มาตรา ๗ ผู้ใดพยายามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ มาตรา ๘ ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้นั้นสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกันตามวรรคหนึ่ง ผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น มาตรา ๙ ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยแต่งเครื่องแบบหรือโดยแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าพนักงาน ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นอีกกึ่งหนึ่ง มาตรา ๑๐ กรรมการหรืออนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือสภาท้องถิ่นอื่น ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใด กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือกระทำความผิดตามมาตรา ๔๒ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น มาตรา ๑๑ กรรมการหรืออนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงานหรือข้าราชการผู้ใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น มาตรา ๑๒ การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔ การจับกุมหรือการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖ หรือตามมาตรา ๘ ต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการก่อน และเมื่อดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้รายงานให้เลขาธิการทราบทันที การขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๕) หมวด ๒ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (๖) มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุดเป็นรองประธานกรรมการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพากร และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งในสำนักงาน เป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งนอกจากประธานกรรมการไม่อาจมาประชุมได้ อาจมอบหมายให้ ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือเทียบเท่าหรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการมาประชุมแทนเฉพาะครั้งนั้นก็ได ้ มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ และมาตรา ๓๓(๒) ตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (๓) วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดของผู้ต้องหาหรือผู้อื่นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ (๔) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามมาตรา ๒๒ (๕) วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษา การนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดและการนำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์ตามมาตรา ๒๔ และระเบียบเกี่ยวกับกองทุนตามมาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘คณะกรรมการอาจมอบหมายให้อนุกรรมการหรือเลขาธิการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินตาม (๒) หรือดำเนินการยึดหรืออายัดตาม (๔) แล้วรายงานให้ทราบก็ได้ มาตรา ๑๗ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุมให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงสองในสามของกรรมการที่มาประชุม กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนมาตรา ๑๘ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้รับมอบหมายก็ได้และให้นำความในมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม (๕) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔(๖) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน มาตรา ๑๙ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหารายใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คณะกรรมการสั่งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้นั้น ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เลขาธิการอาจสั่งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาไปก่อน แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ มาตรา ๒๐ ในการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหา หากมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดของผู้อื่นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องหา โดยได้รับทรัพย์สินนั้นมาโดยเสน่หา ก็ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้นั้นด้วย และให้นำความในมาตรา ๑๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๑ คณะกรรมการ หรือเลขาธิการอาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแทนแล้วรายงานให้ทราบก็ได้ โดยให้ประกาศเพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการเพื่อขอรับทรัพย์สินคืนได้ด้วยการตรวจสอบทรัพย์สินและการประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๗) มาตรา ๒๒ ในการตรวจสอบทรัพย์สิน ถ้าผู้ถูกตรวจสอบหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกตรวจสอบไม่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือได้รับโอนทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ ให้คณะกรรมการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องคดีซึ่งต้องไม่ช้ากว่าหนึ่งปีนับแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องในคดีที่ต้องหานั้น เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทรัพย์สิน หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าทรัพย์สินรายใดอาจมีการโอน ยักย้าย ซุกซ่อน หรือเป็นกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินรายนั้นไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีการวินิจฉัยตามมาตรา ๑๖(๓) ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกตรวจสอบหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีประกันหรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๑๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวแล้ว ให้คณะกรรมการจัดให้มีการพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว และในกรณีที่ผู้ถูกตรวจสอบหรือผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินสามารถพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งได้ ก็ให้คืนทรัพย์สินให้แก่ผู้นั้น แต่ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ ให้ถือว่าการยึดหรืออายัดตามวรรคสองเป็นการยึดหรืออายัดตามวรรคหนึ่งการยื่นคำร้องขอผ่อนผันตามวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง(๘) เพื่อประโยชน์ตามมาตรานี้ คำว่า “ทรัพย์สิน” ให้หมายความรวมถึง (๑) ทรัพย์สินที่เปลี่ยนสภาพไป สิทธิเรียกร้อง ผลประโยชน์ และดอกผลของทรัพย์สิน ดังกล่าว (๒) หนี้ที่บุคคลภายนอกถึงกำหนดชำระแก่ผู้ต้องหา(๓) ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องหาที่ได้รับ ขาย จำหน่วย โอนหรือยักย้ายไปเสียในระหว่างระยะเวลาสิบปีก่อนมีคำสั่งยึดหรืออายัด และภายหลังนั้น เว้นแต่ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์จะพิสูจน์ต่อ (๗) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔(๘) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ คณะกรรมการได้ว่าการโอนหรือการกระทำนั้นได้กระทำไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน มาตรา ๒๓ เมื่อคณะกรรมการหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินใดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินและประเมินราคาทรัพย์สินนั้นโดยเร็ว แล้วรายงานให้ทราบการยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๙) ทั้งนี้ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา ๒๔ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่คณะกรรมการได้มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เลขาธิการอาจสั่งให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ การนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดหรือการนำทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ถ้าความปรากฏในภายหลังว่าทรัพย์สินที่นำไปใช้ตามวรรคสองมิใช่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คืนทรัพย์สินนั้นพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด โดยใช้จากเงินกองทุนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ถ้าไม่อาจคืนทรัพย์สินได้ให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ประเมินได้ในวันที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือตามราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณีการประเมินค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพตามวรรคสี่ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาและตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการและเลขาธิการ มีอำนาจดังต่อไปนี้(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดมาเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดมาเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ รวมถึงการตรวจสอบจากธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงินด้วย(๓) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใดที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด หรือมีทรัพย์สินตามมาตรา ๒๒ ซุกซ่อนอยู่ เพื่อทำการตรวจค้นหรือเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากไม่ดำเนินการในทันทีทรัพย์สินนั้นจะถูก ยักย้าย ก็ให้มีอำนาจเข้าไปในเวลากลางคืน ในกรณีตาม (๓) ประธานกรรมการ หรือเลขาธิการจะมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแทนแล้วรายงานให้ทราบก็ได ้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคสอง ต้องแสดงเอกสาร มอบหมายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง (๙) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๖ การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามมาตรา ๒๒ ซึ่งกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนตัว (๑๐)มาตรา ๒๗ เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและทรัพย์สินที่คณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา ๒๒ เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น โดยจะยื่นคำร้องไปพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใดๆ ก่อนศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาก็ได้ แต่ถ้ามีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จะยื่นคำร้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ได้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ในกรณีที่พบว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มเติมอีก ให้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เว้นแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง (๑๑)มาตรา ๒๘ เมื่อศาลสั่งรับคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา ๒๗ แล้ว ให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน เพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนคดีถึงที่สุด ในกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่าผู้ใดอาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ก็ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบเพื่อใช้สิทธิดังกล่าว โดยแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ครั้งหลังสุดของผู้นั้นเท่าที่ปรากฏหลักฐานในสำนวนการสอบสวนค่าใช้จ่ายในการประกาศและในการแจ้ง ให้จ่ายจากเงินของกองทุน มาตรา ๒๙ บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ศาลสั่ง ริบทรัพย์สินนั้นเว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า(๑) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือ (๒) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะ หรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด (๑๒)มาตรา ๓๐ บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษา หรือไม่ก็ตามให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และเมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้ว ให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่า (๑๐) และ(๑๑) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน เป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าในคดีดังกล่าวจะปรากฏตัวบุคคลซึ่งอาจเชื่อได้ว่าเป็นเจ้าของหรือไม่ก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการประกาศ ให้จ่ายจากเงินของกองทุน ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือในกรณีที่ปรากฏเจ้าของ แต่เจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่เริ่มประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง และ ในกรณีนี้มิให้นำมาตรา ๓๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ มาตรา ๓๑ ทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ริบตามมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ ให้ตกเป็นของกองทุน มาตรา ๓๒ ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือ จำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง ส่วนทรัพย์สินที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น ถ้าไม่มีผู้ใดมาขอรับคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ให้ตกเป็น ของกองทุน ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินคดีได้ภายในสองปีนับแต่วันที่การกระทำความผิดเกิดและไม่อาจจับตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ให้ทรัพย์สินที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นตกเป็นของกองทุน แต่ถ้าไม่อาจดำเนินคดีต่อไปได้เพราะเหตุที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใดถึงแก่ความตายให้ทรัพย์สินตกเป็นของกองทุน เว้นแต่ภายในสองปี นับแต่วันที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นถึงแก่ความตาย และทายาทของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นไม่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณ ก็ให้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาทของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น มาตรา ๓๓ การขอรับทรัพย์สินคืน ให้ยื่นคำร้องพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อคณะกรรมการ การขอรับทรัพย์สินและการคืนทรัพย์สินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง(๑๓) หมวด ๓ กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มาตรา ๓๔ ให้จัดตั้งกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมาตรา ๓๕ กองทุนตามมาตรา ๓๔ ประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (๑) ทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒(๒) ทรัพย์สินที่มีผู้ให้ (๑๓) ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความใน พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ (๓) ทรัพย์สินที่ได้รับจากรัฐบาล (๔) ผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินตาม (๑) (๒) และ (๓) มาตรา ๓๖ กองทุนตามมาตรา ๓๕ ให้เป็นของสำนักงานโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๓๗ การรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๘ การจัดหาผลประโยชน์ การจัดการและการจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๓๙ ภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน ให้เลขาธิการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองต่อรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเงินกองทุนมีมากพอสมควร ซึ่งเมื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนแล้วยังคงมีเงินเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ส่งเงินกองทุนจำนวนใดจำนวนหนึ่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้ หมวด ๔ บทกำหนดโทษ มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือไม่ส่งบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานตามมาตรา ๒๕(๒) หรือขัดขวาง หรือไม่ให้ความสะดวกตามมาตรา ๒๕(๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๑ ผู้ใดรู้หรืออาจรู้ความลับในราชการเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้อื่นรู้หรืออาจรู้ความลับดังกล่าว เว้นแต่เป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่หรือตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๔๒ ผู้ใดยักย้าย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ หรือรับไว้โดยมิชอบด้วยประการใดซึ่งทรัพย์สินที่มีคำสั่งยึดหรืออายัด หรือที่ตนรู้ว่าจะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการปราบปรามผู้กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าวขึ้นโดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ หากผู้ใดสนใจโปรดติดต่อขอรายละเอียดได้ที่กองนิติการเลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400โทรศัพท์ (662) 245-9087 โทรสาร (662) 245-9413 หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ที่ http://www.krisdika.go.th พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ภูมิพลอดุลยเดช ปร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นปีที่ ๓๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๒๓๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (๑)จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๒) (๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๑ ก ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๖ ก ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕(๒) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๖๓ ก ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๒ (๓) มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช ๒๔๖๕(๒) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙ (๓) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๒(๔) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ (๕) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘(๖) พระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช ๒๔๘๖ (๗) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช ๒๔๘๖มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ (๔) “ยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดย รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕)แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้าน บางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่“ผลิต” หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย “จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน ให้ “นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร “ส่งออก” หมายความว่า นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร (๓) พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๓ ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติฝิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๒ พระราชบัญญัติฝิ่น แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๖ พระราชบัญญัติฝิ่น แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๘ พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๘๑ พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๔๘๕ พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๙๔ พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๗) พุทธศักราช ๒๕๐๒ พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๘) พุทธศักราช ๒๕๐๓ (หมายเหตุ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๕๔ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๒๘)(๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์นี้ไว้แทน(๕) ดูประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑๕๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ฉบับ ๑๕๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ฉบับ ๑๕๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) และฉบับ ๑๗๐ (พ.ศ. ๒๕๔๔)(หมายเหตุ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๓๕) พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๒๓ง ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๙) (๖) “เสพ” หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด (๗)“ติดยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า เสพเป็นประจำติดต่อกันและตกอยู่สภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษ โดยสามารถตรวจพบสภาพเช่นว่านั้นได้ตามหลักวิชาการ(๘) “หน่วยการใช้” หมายความว่า เม็ด ซอง ขวด หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นโดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง (๙) “การบำบัดรักษา” หมายความว่าการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ซึ่งรวมตลอดถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพและการติดตามผลการบำบัดรักษาด้วย(๑๐)“สถานพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานพักฟื้น หรือสถานที่อื่นใดเฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นสถานที่ทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (๑๑)“เภสัชกร” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม“ตำรับยา” หมายความว่า สูตรของสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มียาเสพติดให้โทษรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้งยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่นำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้ (๑๒)“ข้อความ” หมายความรวมถึงการกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดๆ ที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้(๑๓) “โฆษณา” หมายความรวมถึงกระทำการไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า แต่ไม่หมายความรวมถึงเอกสารทางวิชาการหรือตำราที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ “ผู้อนุญาต” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัตินี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานการรับ การจ่าย การเก็บรักษา และวิธีการปฏิบัติอย่าง (๖) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (หมายเหตุ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๙ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐)(๗) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๔(๘) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓ (๙) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๔(๑๐) และ (๑๑) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๒)และ (๑๓) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ อื่นที่เกี่ยวกับการควบคุมยาเสพติดให้โทษให้คณะกรรมการทราบทุกหกเดือน แล้วให้ คณะกรรมการเสนอ พร้อมกับให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งการต่อไป มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่น กับออกประกาศ ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๗ ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ (๑) ประเภท ๑ ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน (Heroin) (๒) ประเภท ๒ ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน (Morphine) โคคาอีน (Cocaine) โคเดอีน (Codeine) ฝิ่นยา (Medicinal Opium) (๑๔) (๑๕)(๓) ประเภท ๓ ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๔) ประเภท ๔ สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ หรือประเภท ๒ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride) (๕) ประเภท ๕ ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท ๑ ถึงประเภท ๔ เช่น กัญชา พืชกระท่อม(๑๖) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๘(๑) เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ คำว่า ฝิ่นยา (Medicinal Opium) หมายถึง ฝิ่นที่ได้ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งโดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้ในทางยา มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๑) ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษว่า ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดตามมาตรา ๗ (๑๗) (๒) เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทยาเสพติดให้โทษตาม (๑) (๓) กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณ ส่วนประกอบ คุณภาพ ความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของยาเสพติดให้โทษ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษายาเสพติดให้โทษ(๑๘) (๔) กำหนดจำนวนและจำนวนเพิ่มเติมซึ่งยาเสพติดให้โทษที่จะต้องใช้ในการแพทย์ และทางวิทยาศาสตร์ทั่วราชอาณาจักรประจำปี (๑๔) ฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หมายถึง ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก หรือมูลฝิ่น (ดูบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ลำดับที่ ๑๐๐)(๑๕) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๑๖) พืชฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ (ดูประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕) (พ.ศ. ๒๕๓๙) ยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ ลำดับที่ ๓ และลำดับที่ ๔)(๑๗) ดูประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๓๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒(๑๘) ดูประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๒๙) เรื่อง กำหนดมาตรฐานว่าด้วยปริมาณส่วนประกอบคุณภาพความบริสุทธิ์ หรือลักษณะอื่นของยาเสพติดให้โทษ ตลอดจนการบรรจุและการเก็บรักษายาเสพติดให้โทษ (๑๙)(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองได้ (๒๐)(๖) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามมาตรา ๗(๓) (๗) จัดตั้งสถานพยาบาล (๘) กำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการบำบัดรักษาและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาล หมวด ๑ คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้แทน อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้แทน อธิบดีกรมตำรวจหรือผู้แทน อธิบดีกรมอัยการหรือผู้แทน อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและเลขานุการ และหัวหน้ากองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๐ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก(๓) รัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ(๗) ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ หรือใบอนุญาตวิชาชีพเวชกรรม เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว มาตรา ๑๒ การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม (๑๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้แทน(๒๐) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๖ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ (๑) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีตามมาตรา ๕ (๒) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการตามมาตรา ๘ (๓) ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต (๔) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการกำหนดตำแหน่งและระดับของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อวางระเบียบปฏิบัติราชการในการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และกระทรวง ทบวง กรมอื่น (๖) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ และประเภท ๕ (๒๑) (๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๔ คณะกรรมการอาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่คณะกรรมการจะมอบหมายก็ได้ การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๒ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ (๒๒)มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย(๒๓)(๑) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้ามิลลิกรัมขึ้นไป(๒๔)หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป (๒๑) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๒๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๒๓) มาตรา ๑๕ วรรคสาม เป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาดซึ่งจะนำสืบหักล้างไม่ได้ ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น(๒๔) โดยการวิเคราะห์หาปริมาณความบริสุทธิ์ ตามหลักวิชาการทางเคมี (๒) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป(๒๕)หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป (๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ นอกจาก (๑) และ (๒) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ สามกรัมขึ้นไป (๒๖) (๒๗ )มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การพิจารณาอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจ วิเคราะห์ หรือประเมินเอกสารทางวิชาการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย(๒๘) การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๗ ไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองไม่เกินจำนวนที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา(๒) การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้ในครอบครองไม่เกินจำนวนที่จำเป็นสำหรับใช้ประจำในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าวจดทะเบียนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๙ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ได้เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตเป็น(๑) กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร สภากาชาดไทย หรือองค์การเภสัชกรรม (๒) ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ หรือ (๒๕) และ (๒๖) เช่นเดียวกันกับ (๒๔) (๒๗) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๒๘) เช่นเดียวกันกับ (๒๓) และ(๒๔) (๒๙)(๓) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง และ (ก) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ข) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และกฎหมายว่าด้วยยา (ค) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้นหนึ่งหรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ (ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (จ) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ในการพิจารณาอนุญาตแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการมีไว้เพื่อจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ในการนี้ผู้อนุญาตจะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้ (๓๐) มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเฉพาะผู้ป่วยซึ่งตนให้การรักษา(๒) การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเฉพาะสัตว์ที่ตนบำบัด ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา ๑๙(๓) การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมาตรา ๒๑ ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้ขออนุญาต (๑) ได้รับอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา และ(๒) มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ จำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าวที่ตนผลิตหรือ (๒๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๓๐) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน นำเข้าได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตจำหน่ายอีกมาตรา ๒๒ ในการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ แต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่นำเข้าหรือส่งออกจากผู้อนุญาตด้วย การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๒๓ ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ และมาตรา ๒๐ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ออก ใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้อนุญาตสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่ง บรรดายาเสพติดให้โทษที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ขอต่อใบอนุญาตมีอยู่ในครอบครองให้ตกเป็นของกระทรวง สาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุขให้ค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๒๔ ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๒ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของ ผู้รับอนุญาตด้วย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วยมาตรา ๒๕ ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยยาและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีก มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นรายๆ ไป การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การขออนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓๑) มาตรา ๒๖/๑ ปริมาณยาเสพติดให้โทษที่จะอนุญาตได้ตามหมวดนี้ให้เป็นไปตามมาตรา ๘(๕) หมวด ๓ หน้าที่ของผู้รับอนุญาต มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๗ จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ นอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตมาตรา ๒๘ ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๗ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดเก็บรักษายาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ไว้เป็นสัดส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคง แข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน(๒) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ถูกโจรกรรมหรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า (๓๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๑ มาตรา ๒๙ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิต แสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติด ให้โทษ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิต โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันวิเคราะห์ (๓) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือคำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือที่หีบห่อบรรจุยาเสพติดในประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๔) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ซึ่งใช้เพื่อการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นสัดส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน (๕) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ตาม (๔) ถูกโจรกรรมหรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า มาตรา ๓๐ ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต แสดงว่าเป็นสถานที่นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียดผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่นำเข้าหรือส่งออก (๓) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ (๔) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือคำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่นำเข้าหรือส่งออก ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๓๑ ให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่จำหน่ายแสดงว่าเป็นสถานที่จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น (๓) ดูแลให้มีฉลาก เอกสารกำกับ คำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ มิให้ชำรุดบกพร่องมาตรา ๓๒ ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิต แสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีการวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่ผลิตขึ้นก่อนนำออกจากสถานที่ผลิต โดยต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง และมีหลักฐานแสดงรายละเอียดซึ่งต้องเก็บรักษาไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันวิเคราะห์ (๓) จัดให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือคำเตือนหรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่ผลิตขึ้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๔) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ซึ่งผลิตขึ้น ต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นสัดส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคง แข็งแรง และมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน (๕) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า มาตรา ๓๓ ให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการของผู้รับอนุญาตแสดงว่าเป็นสถานที่นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีใบรับรองของผู้ผลิตแหล่งเดิม แสดงรายละเอียดผลการวิเคราะห์คุณภาพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่นำเข้าหรือส่งออก (๓) จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือคำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่นำเข้าหรือส่งออก ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๔) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่นำเข้าหรือส่งออก ต้องเก็บรักษาไว้ให้เป็นสัดส่วนในที่เก็บซึ่งมั่นคง แข็งแรง และมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน (๕) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า มาตรา ๓๔ ให้ผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีป้ายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่จำหน่าย แสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ลักษณะและขนาดของป้ายและข้อความที่แสดงในป้าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (๒) จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ เป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น (๓) ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับ คำเตือน หรือข้อควรระวังการใช้ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ มิให้ชำรุดบกพร่อง (๔) ในกรณีที่ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ถูกโจรกรรม หรือสูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้ามาตรา ๓๕ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาต และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือลบเลือน การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๔ หน้าที่ของเภสัชกร มาตรา ๓๖ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมการผลิตให้เป็นไปไปตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ควบคุมให้มีฉลากเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามมาตรา ๒๙ (๓) (๓) ควบคุมการบรรจุ และการปิดฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๑ (๕) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ มาตรา ๓๗ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามมาตรา ๓๑ (๒) (๒) ควบคุมการปฏิบัติตามมาตรา ๓๑ (๓) (๓) ควบคุมการจำหน่ายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ (๔) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ มาตรา ๓๘ ให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่นำเข้าหรือส่งออกให้ถูกต้องตามตำรับยาที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ (๒) ควบคุมการปฏิบัติตามมาตรา ๓๐(๓) และ (๔) (๓) ควบคุมการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ให้เป็นไปตามมาตรา ๓๑ (๔) ต้องอยู่ประจำควบคุมกิจการตลอดเวลาที่เปิดทำการ หมวด ๕ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปลอม ผิดมาตรฐาน หรือเสื่อมคุณภาพ มาตรา ๓๙ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังต่อไปนี้ (๑) ยาปลอมตามมาตรา ๔๐ (๒) ยาผิดมาตรฐานตามมาตรา ๔๑ (๓) ยาเสื่อมคุณภาพตามมาตรา ๔๒ (๔) ยาที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๔๐ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือสิ่งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นยาปลอม (๑) ยาหรือสิ่งที่ทำขึ้นโดยแสดงไม่ว่าด้วยประการใดๆ ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ โดยความจริงมิได้มียาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อยู่ด้วย (๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่แสดงชื่อว่าเป็นยาเสพติดให้โทษอื่นหรือแสดงเดือน ปี ที่ยาเสพติดให้โทษสิ้นอายุเกินความจริง (๓) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิต ซึ่งมิใช่ความจริง (๔) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือยาเสพติดให้โทษตามที่ระบุชื่อไว้ในประกาศของรัฐมนตรี ตามมาตรา ๘(๑) หรือตามตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ซึ่งทั้งนี้มิใช่เป็นความจริง (๕) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดสารออกฤทธิ์ ขาดหรือเกินกว่าร้อยละสิบของปริมาณที่กำหนดไว้จากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุด ตามที่กำหนดไว้ในประกาศของ รัฐมนตรี ตามมาตรา ๘(๓) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ ยาไว ้(๓๒) มาตรา ๔๑ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษผิดมาตรฐาน (๑) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน โดยสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้จากเกณฑ์ต่ำสุดหรือสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๘(๓) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แต่ไม่ถึงร้อยละสิบ (๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้นโดยมีความบริสุทธิ์หรือลักษณะอื่นซึ่งมีความสำคัญต่อคุณภาพของสารออกฤทธิ์ผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของรัฐมนตรี ตามมาตรา ๘(๓) หรือตามที่กำหนดไว้ในตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ มาตรา ๔๒ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษเสื่อมคุณภาพ (๑) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่สิ้นอายุตามที่แสดงไว้ในฉลากซึ่งขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ (๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่แปรสภาพจนมีลักษณะเช่นเดียวกับยาปลอมตามมาตรา ๔๐ หรือยาเสพติดให้โทษผิดมาตรฐานตามมาตรา ๔๑ (๓๓) หมวด ๖ การขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ (๓๔) มาตรา ๔๓ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ จะผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ต้องนำตำรับยาเสพติดให้โทษนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษแล้ว จึงผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษนั้นได้การขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และการออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓๕) การพิจารณาออกใบสำคัญตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(๓๖) มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียน (๓๒) ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผลิตไม่ถูกต้องตามมาตรฐานถึงขนาดสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินกว่าปริมาณที่กำหนดถือว่าเป็นยาปลอม ตามมาตรา ๔๐(๕) แต่หากผลิตไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน โดยสารออกฤทธิ์ขาดหรือเกินไม่ถึงร้อยละสิบถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษผิดตามมาตรฐานตามมาตรา ๔๑(๑)(๓๓) เป็นกรณียาเสพติดให้โทษประเภท ๓ ที่ผลิตขึ้นถูกต้องตามมาตรฐานแต่แรก หากเราแปรสภาพในภายหลังจนมีลักษณะเช่นเดียวกันกับยาปลอมหรือยาเสพติดให้โทษผิดมาตรฐาน(๓๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๓๕) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๒(๓๖) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน ตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๔๓ แล้ว จะแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาตการขอแก้ไขรายการและการอนุญาตให้แก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๔๕ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ ถ้าผู้รับใบสำคัญประสงค์จะขอต่ออายุใบสำคัญ จะต้องยื่นคำขอก่อนใบสำคัญสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้ว จะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบสำคัญนั้นการขอต่ออายุใบสำคัญและการต่ออายุใบสำคัญขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๔๖ เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ใด ที่ได้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ต่อมาปรากฏว่าไม่มีสรรพคุณตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ หรืออาจไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้ หรือมีเหตุผลอันไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ต่อไป ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีมีอำนาจ สั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ นั้นได้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาคำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดมาตรา ๔๗ ในกรณีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ สูญหายหรือถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนการขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และการออกใบแทนใบสำคัญดังกล่าว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๗ การโฆษณา (๓๗) มาตรา ๔๘ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณายาเสพติดให้โทษ เว้นแต่(๑) เป็นการโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ หรือประเภท ๓ ซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง หรือ(๒) เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ประเภท ๓ หรือประเภท ๔ โฆษณาตามวรรคหนึ่งที่เป็นเอกสาร ภาพ ภาพยนตร์ การบันทึกเสียงหรือภาพต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะใช้โฆษณาได้ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (๓๘) มาตรา ๔๘/๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำการดังกล่าวโดยใช้ชื่อของตน หรือชื่อหรือที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาลของตน หรือคุณวุฒิหรือความสามารถของ ผู้ประกอบวิชาชีพใน (๓๗) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๓๘) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๔ สถานพยาบาลของตน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่สถานพยาบาลของรัฐ(๓๙) มาตรา ๔๘/๒ ในกรณีที่ผู้อนุญาตเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๘/๑ วรรคสอง หรือมีการใช้ข้อความโฆษณาไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้(๑) ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา(๒) ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา(๓) ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีนั้นในการโฆษณา(๔) ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นในการออกคำสั่งตาม (๔) ให้ผู้อนุญาตกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการโฆษณา โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนกับความสุจริตใจในการกระทำของผู้ทำการโฆษณา หมวด ๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ (๔๐) มาตรา ๔๙ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออก สถานที่ผลิต สถานที่จำหน่าย สถานที่เก็บยาเสพติดให้โทษ หรือสถานที่ที่ต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้(๒) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้นเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม (๓) ค้นบุคคลหรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติดให้โทษซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย(๔) ค้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (๕) ยึดหรืออายัดยาเสพติดให้โทษที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ค้นปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้นรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปบันทึกเหตุอันควรเชื่อตามสมควร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงเอกสารเพื่อแสดงตนและเอกสารที่แสดงอำนาจในการตรวจค้น รวมทั้งเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน สถานที่ค้น เว้นแต่ไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ค้นส่งมอบสำเนาเอกสารและหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการ (๓๙) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๔(๔๐) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน เข้าค้นในเวลากลางคืนพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบเท่าซึ่งมียศตั้งแต่พันตำรวจโทขึ้นไปพนักงานเจ้าหน้าที่ตำแหน่งใดหรือระดับใดจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายนั้น (*)ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควรให้รัฐมนตรีจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรานี้ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยให้รายงานข้อเท็จจริง ปัญหาอุปสรรค ปริมาณการปฏิบัติงาน และผลสำเร็จของการปฏิบัติงานโดยละเอียด เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอรายงานดังกล่าวพร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามาตรา ๕๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวและเอกสารมอบหมายตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้งบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๙ การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๕๒ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ในกรณีที่มีการฟ้องผู้รับใบอนุญาตต่อศาลว่าได้กระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้รอคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้ ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกไม่ได้ มาตรา ๕๓ ถ้าปรากฏว่าผู้รับอนุญาตผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๙ หรือกระทำความผิดตามมาตรา ๓๙ ผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๕๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบ ในกรณีไม่พบตัวผู้ถูกสั่งหรือผู้ถูกสั่งไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในสถานที่ซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ตั้งแต่วันที่รับหรือปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณีมาตรา ๕๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดยาเสพติดให้โทษที่เหลือของผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนนั้น ไปเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (*) ๑. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๘๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และกำหนดอำนาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ๒. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๘๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ เรื่องการออกเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือในกรณีจำเป็น จะเก็บรักษาไว้ที่อื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดก็ได้ในกรณีเพิกถอนใบอนุญาต ให้ยาเสพติดให้โทษที่ยึดไว้ตามวรรคหนึ่งตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขมาตรา ๕๖ เมื่อพ้นกำหนดการพักใช้ใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนยาเสพติดให้โทษและใบอนุญาตที่ยึดไว้ตามมาตรา ๕๕ ให้ผู้รับอนุญาต หมวด ๑๐ มาตรการควบคุมพิเศษ มาตรา ๕๗ ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือประเภท ๕มาตรา ๕๘ ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพเพื่อการรักษาโรคตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรมที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ (๔๑) มาตรา ๕๘/๑ ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๕ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมียาเสพติดให้โทษดังกล่าวอยู่ใน ร่างกายหรือไม่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ตำแหน่งใด ระดับใด หรือชั้นยศใดจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการโดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายนั้น(**) วิธีการตรวจหรือการทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการเกี่ยวกับการแสดงความบริสุทธิ์ของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ และมาตรการเกี่ยวกับการห้ามเปิดเผยผลการตรวจหรือทดสอบแก่ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ปรากฏผลเบื้องต้นเป็นที่สงสัยว่ามียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกาย จนกว่าจะได้มีการตรวจยืนยันผลเป็นที่แน่นอนแล้ว(***)มาตรา ๕๙ ให้รัฐมนตรีกำหนดจำนวนยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ที่จะต้องใช้ในทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ทั่วราชอาณาจักรประจำปี โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ช้ากว่าเดือนมกราคมของแต่ละปี และให้กำหนดจำนวนเพิ่มเติมได้ในกรณีจำเป็นโดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเช่นกัน (๔๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๖(**) ๑. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๘๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ๒. ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๘๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ เรื่อง การออกเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ(***) ตามประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ (๔๒) มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์ที่จะจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เกินปริมาณที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๘ (๕) ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นกรณีพิเศษการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๘(๕) มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา ๖๑ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ให้ทายาท ผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการมรดกแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดยาเสพติดให้โทษที่ผู้รับอนุญาตมีเหลือมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ยาเสพติดให้โทษที่ยึดไว้นั้นให้กระทรวงสาธารณสุขจ่ายค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควรมาตรา ๖๒ ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๖ จัดให้มีการทำบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและเสนอรายงานต่อเลขาธิการเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดทำการ ทั้งนี้ ภายในห้าปีนับแต่วันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชีบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๖๓ เมื่อได้จัดตั้งสถานพยาบาลสำหรับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๘(๗) แล้วให้รัฐมนตรีกำหนดระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการบำบัดรักษา และระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาลดังกล่าวด้วย หมวด ๑๑ การนำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษ ( ๔๓) มาตรา ๖๔ ในการนำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ และประเภท ๕ ต้องมีใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับยาเสพติดให้โทษ และต้องแสดงใบอนุญาตดังกล่าวต่อพนักงานศุลกากร กับต้องยินยอมให้พนักงานศุลกากรเก็บรักษาหรือควบคุมยาเสพติดให้โทษนั้นไว้ให้พนักงานศุลกากรเก็บรักษาหรือควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ และประเภท ๕ นั้นไว้ในที่สมควร จนกว่าผู้ที่นำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษจะนำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่ผู้นำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ และประเภท ๕ ไม่นำ ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันนำเข้า ให้พนักงานศุลกากรรายงานให้เลขาธิการทราบ เลขาธิการมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้นำผ่านซึ่งยาเสพติดให้โทษนำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ออกคำสั่ง ในกรณีผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม ให้ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข (๔๒) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๔๓) พ.ร.บ. นี้มิได้บัญญัติคำนิยามคำว่า “นำผ่าน” แต่สามารถดูเปรียบเทียบได้จาก พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๔ (๔๔) หมวด ๑๑/๑ การอุทธรณ์ (๔๕)มาตรา ๖๔/๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๔๘/๒ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้(๔๖) มาตรา ๖๔/๒ การอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๔/๑ ให้ยื่นต่อคณะกรรมการภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ได้รับทราบคำสั่งของผู้อนุญาตหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการอุทธรณ์คำสั่งตามวรรคหนึ่ง ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้อนุญาต เว้นแต่คณะกรรมการจะสั่งเป็นอย่างอื่นเป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด หมวด ๑๒ บทกำหนดโทษ (๔๗) มาตรา ๖๕ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๕ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาทถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสาม เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท (๔๘) มาตรา ๖๖ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง (๔๔) (๔๕) และ (๔๖) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๘(๔๗) และ (๔๘) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๙ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน ปรับถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาทถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต(๔๙) มาตรา ๖๗ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๕๐) มาตรา ๖๘ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองล้านบาทถึงห้าล้านบาท(๕๑) มาตรา ๖๙ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ กระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง วรรคสองหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท(๕๒) มาตรา ๗๐ ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท (๕๓) มาตรา ๗๑ ผู้ใดจำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษไม่เกินที่กำหนดตามมาตรา ๒๐ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เกินจำนวนตามมาตรา ๒๐ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (๔๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๙ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๕๐) และ (๕๑) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๐ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๕๒) (๕๓) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๑ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๕๔) มาตรา ๗๒ ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท(๕๕) มาตรา ๗๓ ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท(๕๖) มาตรา ๗๔ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๕๗) มาตรา ๗๕ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมานั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๕๘) มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๕๙)มาตรา ๗๖/๑ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษไม่ถึงสิบกิโลกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามียาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคหนึ่งนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมาในวรรคสองนั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (๕๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๑ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๕๕) และ (๕๖) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๑ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๕๗) และ (๕๘)ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๒ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๕๙) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๓ (๖๐)มาตรา ๗๗ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท(๖๑)มาตรา ๗๘ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(๖๒)มาตรา ๗๙ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท(๖๓)มาตรา ๘๐ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท(๖๔)มาตรา ๘๑ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท(๖๕)มาตรา ๘๒ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๑) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสองล้านบาท(๖๖)มาตรา ๘๓ ผู้ใดจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ปลอม อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าแสนบาท(๖๗)มาตรา ๘๔ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ผิดมาตรฐานหรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๖๘)มาตรา ๘๕ ผู้ใดจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ผิดมาตรฐาน หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๖๙)มาตรา ๘๖ ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าแสนบาท(๗๐)มาตรา ๘๗ ผู้ใดจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙(๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามแสนบาท(๗๑)มาตรา ๘๘ ผู้ใดแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (๗๒) มาตรา ๘๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ หรือมาตรา ๔๘/๑ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา ๔๘ หรือมาตรา ๔๘/๑ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๔๘/๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๖๐) - (๗๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๗๓)มาตรา ๘๙/๑ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๘๙ เป็นการกระทำของเจ้าของสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษเพียงกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น(๗๔) มาตรา ๘๙/๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๘๙ หรือมาตรา ๘๙/๑ เป็นความผิดต่อเนื่องผู้กระทำต้องระวางโทษปรับวันละไม่เกินห้าพันบาท หรือไม่เกินสองเท่าของค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับการโฆษณานั้น ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม(๗๕) มาตรา ๙๐ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๗๖) มาตรา ๙๑ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๗๗)มาตรา ๙๒ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดดังกล่าวมานั้นเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท(๗๘)มาตรา ๙๒/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๕๘/๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท(๗๙)มาตรา ๙๓ ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทถ้าได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการกระทำต่อหญิงหรือต่อบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำผิดทางอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำ ความผิดทางอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงห้าล้านบาท ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดตามวรรคสามเป็นมอร์ฟีนหรือโคคาอีน ผู้กระทำต้องระวางโทษเพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือต่อบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก (๗๓) ? (๗๔) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๕(๗๕) ? (๗๖) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๖ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๗๗) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๗๘) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๘ (๗๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๙ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาทถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดตามวรรคสามเป็นเฮโรอีน ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือต่อบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต(๘๐) มาตรา ๙๓/๑ ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๘๑) มาตรา ๙๓/๒ ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น(๘๒) มาตรา ๙๔ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษ เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามลักษณะ ชนิด ประเภทและปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และได้สมัครใจขอเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลก่อนความผิดจะปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอีกทั้งได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการบำบัดรักษา และระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาลดังกล่าว จนได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีกำหนดแล้ว ให้พ้นจากความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีความผิดที่ได้กระทำไปภายหลัง การสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาการรับเข้าบำบัดรักษาในสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (๘๓)มาตรา ๙๔/๑ ผู้ใดทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษเป็นปกติธุระโดยใช้ยาตามกฎหมาย ว่าด้วยยา วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ หรือกระทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษไม่ว่าโดยวิธีอื่นใด ซึ่งมิได้กระทำในสถานพยาบาลตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสามแสนบาท (๘๔)มาตรา ๙๕ ทายาท ผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการมรดกผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท (๘๐) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๐ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๘๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๑ (๘๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๒ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๘๓) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๓ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๘๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๘๕)มาตรา ๙๖ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (๘๖)มาตรา ๙๗ ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่ หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง(๘๗)มาตรา ๙๘ ผู้ใดต้องโทษตามมาตรา ๙๑ หรือมาตรา ๙๒ เป็นครั้งที่สาม เมื่อพ้นโทษแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยคำสั่งรัฐมนตรีนำไปควบคุมไว้ ณ สถานพยาบาลที่รัฐมนตรีประกาศจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ และให้ทำการบำบัดรักษาจนกว่าจะได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีกำหนดว่าเป็นผู้ได้รับการบำบัดรักษาครบถ้วนตามระเบียบข้อบังคับ เพื่อควบคุมการบำบัดรักษาและระเบียบวินัยสำหรับสถานพยาบาลดังกล่าวด้วย (๘๘)มาตรา ๙๙ ผู้ใดหลบหนีไปในระหว่างที่ถูกควบคุมไว้ ณ สถานพยาบาลตามมาตรา ๙๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๘๙)มาตรา ๑๐๐ กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น (๙๐)มาตรา ๑๐๐/๑ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษถ้าศาลเห็นว่าการกระทำความผิดของผู้ใดเมื่อได้พิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะของผู้กระทำความผิดและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย ศาลจะลงโทษปรับน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ (๙๑)มาตรา ๑๐๐/๒ ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้(๙๒)มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่มีการยึดยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๓ ตามมาตรา ๔๙(๒) หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล ถ้าไม่มีผู้ใดมาอ้างว่าเป็นเจ้าของภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ยึด ให้ยาเสพติดให้โทษนั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข (๘๕) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๔ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๘๖) มาตรา ๙๗ เป็นบทบัญญัติเพิ่มโทษผู้ที่กระทำความผิดซ้ำ(๘๗) มาตรา ๙๘ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษในระบบบังคับรักษา ในกรณีที่ผู้นั้นต้องโทษตามคำพิพากษาในความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษซ้ำเป็นครั้งที่สามและพ้นโทษแล้ว(๘๘) และ(๘๙) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๕ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน(๙๐) และ (๙๑) ข้อความดังกล่าวเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๖(๙๒) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๑ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน (๙๓)มาตรา ๑๐๑ ทวิ ในกรณีที่มีการยึดยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือประเภท ๕ ตามมาตรา ๔๙(๒) หรือตามกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณแล้วว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทดังกล่าว โดยบันทึกรายงานการตรวจพิสูจน์ไว้ ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด(๙๔) มาตรา ๑๐๒ บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ หรือประเภท ๕ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น(๙๕) มาตรา ๑๐๒ ทวิ ในกรณีที่มีการฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือในประเภท ๒ ต่อศาล และไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวน หรือน้ำหนักของยาเสพติดให้โทษ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๒ หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีคำเสนอว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษนั้น ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด บทเฉพาะกาล(๙๖) (๙๗)มาตรา ๑๐๓ ในขณะที่ยังไม่มีประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๘(๑) แห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ (๑) เฮโรอีน หรือเกลือของเฮโรอีน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ (๒) ยาเสพติดให้โทษที่มีชื่อในบัญชีท้ายกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ (ก) ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ (ข) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกำหนดรายชื่อยาเสพติดให้โทษเพิ่มเติมออกตาม (๙๓) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตรา ๑๒(๙๔) นอกเหนือจากทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จะถูกร้องขอให้ริบตามมาตรา ๑๐๒ นี้แล้ว ยังอาจถูกร้องขอให้ริบตามมาตรา ๓๐ แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็ได้ โดยผลจะแตกต่างกันคือ หากมีการร้องขอให้ริบตามมาตรา ๑๐๒ นี้ ทรัพย์สินจะตกเป็นของแผ่นดิน แต่หากมีการร้องขอให้ริบตามมาตรา ๓๐ แห่ง พ.ร.บ. มาตรการฯ ทรัพย์สินจะตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (๙๕) ข้อความข้างต้นเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๑ ก ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓(๙๖) มาตรา ๑๐๓ มาตรา ๑๐๕ และมาตรา ๑๐๖ สิ้นสภาพบังคับในทางกฎหมายแล้ว เนื่องจากได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้และพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลนี้แล้ว(๙๗) รายชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษ เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) และประกาศฉบับอื่นที่แก้ไขเพิ่มเติมในภายหลัง ความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ ฉบับลงวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ฉบับลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ฉบับลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ฉบับลงวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ฉบับลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ และฉบับลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ (๓) อาเซติคแอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride) อาเซติลคลอไรด์ (Acetyl Chloride) เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔(๔) กัญชา ตามพระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช ๒๔๗๗ และพืชกระท่อมตามพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช ๒๔๘๖ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ มาตรา ๑๐๔ ให้ยายกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิต ขาย หรือ นำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังกล่าวในวรรคหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยยา ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามมาตรา ๒๐ และในกรณีผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ตามมาตรา ๔๓ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตและคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยาดังกล่าวแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินกิจการไปพลางก่อนได้ แต่ถ้าผู้อนุญาตมีคำสั่งเป็นหนังสือไม่ออกใบอนุญาตให้ หรือผู้นั้นไม่มายื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับยาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เป็นอันหมดสิทธิตามมาตรานี้นับแต่ทราบคำสั่งหรือวันที่พ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แล้วแต่กรณี และให้นำความในมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับ โดยอนุโลมมาตรา ๑๐๕ ให้ผู้รับใบอนุญาตนำยายกเว้นในราชอาณาจักร ตามแบบ ย.ส.๙ ท้ายกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙ นำยายกเว้นเข้าในราชอาณาจักรได้ตามใบอนุญาตดังกล่าว แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๐๔ ด้วย มาตรา ๑๐๖ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ซื้อ มี และจ่ายยาเสพติดให้โทษ หรือใบอนุญาตพิเศษให้ซื้อ มี และจ่ายยาเสพติดให้โทษเพิ่มขึ้นกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ตามความในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ และถ้าประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตเดิมจะสิ้นอายุ แต่ถ้าผู้อนุญาตมีคำสั่งเป็นหนังสือไม่ออกใบอนุญาตให้ ผู้นั้นไม่มีสิทธิดำเนินกิจการนับแต่วันที่ทราบคำสั่งเป็นต้นไป และให้นำความในมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการส.โหตระกิตย์ รองนายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม(๙๘) (๑) ใบอนุญาตให้ผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๒) ใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๓) ใบอนุญาตให้ส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๔) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๕) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ฉบับละ ๒๐๐ บาท(๖) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๗) ใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ฉบับละ ๖,๐๐๐ บาท(๘) ใบอนุญาตนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ฉบับละ ๖,๐๐๐ บาท(๙) ใบอนุญาตส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือประเภท ๔ ฉบับละ ๒๐๐ บาท(๑๐) ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ฉบับละ ๒๐๐ บาท(๑๑) ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกแต่ละครั้งซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ฉบับละ ๑๐๐ บาท(๑๒) ใบอนุญาตจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๖๐ ฉบับละ ๒๐๐ บาท(๑๓) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท(๑๔) ใบอนุญาตโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๘/๑ ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท(๑๕) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๑๐๐ บาท(๑๖) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ฉบับละ ๑๐๐ บาท(๑๗) การอนุญาตให้แก้ไขรายการทะเบียนตามมาตรา ๔๔ ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท(๑๘) การต่ออายุใบอนุญาตหรือใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษ ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตหรือใบสำคัญนั้น หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานานแล้ว และมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่ง ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ (๙๘) อัตราค่าธรรมเนียมเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน หากผู้ใดสนใจโปรดติดต่อขอรายละเอียดได้ที่กองนิติการเลขที่ 5 ถนนดินแดง แขวงสามเสนในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400โทรศัพท์ (662) 245-9087 โทรสาร (662) 245-9413 หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ที่ http://www.krisdika.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น